Powered by EverLive.net

หน้าหลัก

เมื่อวันที่ 14-18 สิงหาคม 2563 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรและ ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่1 จังหวัดชุมพร ได้วาง "SCUBA Diving Trail" เส้นทางศึกษาธรรมชาติเเหล่งดำน้ำลึก บริเวณ หินหลักง่าม อุทยานเเห่งชาติหมู่เกาะชุมพร จังหวัดชุมพร

เขียนโดย Super User

 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรและ เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่1 จังหวัดชุมพร ได้วาง เส้นทางศึกษาธรรมชาติเเหล่งดำน้ำลึก บริเวณ หินหลักง่าม อุทยานเเห่งชาติหมู่เกาะชุมพร จังหวัดชุมพร

"SCUBA diving trail at Hin Lak Ngam, Chumporn National Park, Chumporn Province" 

ฐานศึกษาเส้นทางธรรมชาติแหล่งดำน้ำลึก มึจำนวน 20 ฐาน ดังนี้

ฐานที่ 1. แส้ทะเล

เป็นสัตว์ทะเลมีลักษณะเป็นเส้นคล้ายแส้ เป็นปะการังอ่อนชนิดหนึ่งสามารถโอนเอนได้ตามกระแสน้ำ พบได้ในแถบน้ำลึกของแนวปะการัง

ฐานที่ 2. ปะการังถ้วยส้ม

ปะการังแข็งสีเหลืองอมส้ม ลักษณะแปลกยึดเกาะอยู่ตามโขดหิน หรือปะการังชนิดอื่น มีรูปร้างกลมเหมือนถ้วย

ฐานที่ 3. หอยมือหมี

หอยขนาดใหญ่เปลือกหนา มีฟันแหลมคม อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง หรือแนวหินตามหน้าผา

ฐานที่ 4. ฟองน้ำ

จัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในแนวปะการังมีรูปร่าง สีสันที่แตกต่างกัน มีทั้งแบบกิ่ง แบบแผ่น และแบบแจกัน ฟองน้ำครก

เป็นฟองน้ำขนาดใหญ่พบเห็นได้ง่าย เราจะสามารถพบเห็นสัตว์ทะเลบางชนิดอาศัยรวมกับฟองน้ำ

ฐานที่ 5. ปะการังเขากวาง

มีทั้งแบบกิ่งก้าน แบบพุ่ม และแบบแผ่น เป็นปะการังที่สามารถพบเห็นได้ในแนวปะการัง ในจุดนี้เราสามารถพบเห็น

ปะการังเขกวางได้หลายรูปทรง

ฐานที่ 6. กัลปังหา

เป็นปะการังชนิดหนึ่งมีทั้งที่เป็นแผ่น และเส้นคล้ายแส้ มีรูปร้างสีสัน ที่สวยงามเป็นแหล่งอยู่อาศัยขงสัตว์ทะเลตัวเล็กๆ

ฐานที่ 7. ปะการังรูปทรงแปลกตา

เกิดจากหนวดที่ยื่นออกมาคล้ายกับลูกโป่ง เกาะกลุ่มรวมกันเป็นก้อน ในแถบนี้จะสามารถพบเห็นปะการังลูกโป่งใหญ่

หรือปะการังไข่ปลาหมึกที่ชาวเลเรียกกัน

ฐานที่ 8. เห็ดทะเล

เป็นปะการังที่มีความหลากหลายทั้ง รูปร่าง สีสัน เห็ดทะเลจะยึดติดอยู่ตามโขดหิน หรือแนวปะการัง เป็นการดำรงชีวิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

ฐานที่ 9. ปลาการ์ตูน

ใช้ดอกไม้ทะเลเป็นที่หลบภัย ส่วนดอกไม้ทะเลใช้ปลาการ์ตูนเป็นเหยื่อล่อให้ปลาอื่นเข้ามาทเพื่อจับกินเป็นอาหาร เป็นการพึ่งพากันของสิ่งมีชีวิตอย่างลงตัว

ฐานที่ 10. ปะการังแต่ละชนิด ที่อาศัยอยู่รวมกัน

ทำให้เกิดการแก่งแย่งพื้นที่กันระหว่างปะการัง 2 ชนิด ซึ่งรูปแบบมีทั้งการเคลือบทับกัน หรือการโตทับกัน

ฐานที่ 11. เม่นทะเลหนามดำ(Diadema setosum)

มีรูปร่างค่อนข้างกลมรอบตัวมีหนามกระจายอยู่ มีทั้งชนิดหนามสั้นและหนามยาว ปากอยู่ด้านล่าง ทวารหนักอยู่ด้านบน

สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเคลื่อนที่ได้อย่างช้าๆ กินอาหารได้หลากหลายชนิดทั้งพืชและสัตว์

ฐานที่ 12. ปะการังลูกโป่งใหญ่(Plerogyra sinuosa)

เนื้อเยื่อของปะการังยื่นออกมาเหมือนลูกโป่งหลายๆ ลูกมารวมตัวกันฐานด้านล่างจะเป็นโครงสร้างหินปูน

มักพบกุ้งขนาดเล็กอาศัยอยู่ร่วมด้วย ซึ่งซ่อนตัวในร่องระหว่างลูกโป่ง บางครั้งจะโผล่หนวดออกมา

ฐานที่ 13. ทากทะเล(Nudibranch, Sea slug)

ส่วนใหญ่มีสีสวยสดงดงาม บางชนิดมีหลายสีบนตัวเดียวกัน และสามารถปรับสีของตัวให้เข้ากับสภาพของแหล่งอาศัย

สีที่ฉูดฉาดทำให้สัตว์อื่นหลีกเลี่ยงที่จะกินเป็นอาหาร สร้างสารเคมีที่เป็นพิษสะสมไว้ตามผิว เพื่อป้องกันตัว

ฐานที่ 14. ดอกไม้ทะเล (sea anemon)

สัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง มีหนวดจำนวนมากเรียงรายกันอยู่ด้านบน ส่วนทางด้านล่างเป็นฐานใช้ยึดเกาะติด

กับวัตถุใต้น้ำ หนวดมีเซลล์เข็มพิษ ใช้เพื่อล่าเหยื่อ มักพบปลาการ์ตูนมาอาศัยใช้ดอกไม้ทะเลเป็นที่หลบภัย

ฐานที่ 15. ดาวเปราะ(Brittle star)

สัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง หลบซ่อนตัวตอนกลางวัน ออกหากินตอนกลางคืนลำตัวเป็นแผ่นกลม แขนยื่นออก5 แขน

แบ่งเป็นข้อๆ เปราะและหักง่าย กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก หอย และซากสัตว์เป็นอาหาร ไม่มีสมอง

ฐานที่ 16. ปะการังดอกเห็ด(Fungia fungites)

ลักษณะคล้ายดอกเห็ดทรงกลม มีความหลากหลายทั้งชนิด รูปทรง และขนาด อยู่เป็นอิสระส่วนใหญ่แยก

อยู่เป็นตัวเดี่ยวๆ เป็นปะการังที่มีขนาดคลอรอลไลท์ใหญ่มาก

ฐานที่ 17. ปลาการ์ตูนกับดอกไม้ทะเล“มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน(Symbiosis) ต่างให้ประโยชน์แก่กัน”

ปลาการ์ตูนอาศัยดอกไม้ทะเลเป็นที่หลบภัย และสืบพันธุ์ ส่วนดอกไม้ทะเลได้รับประโยชน์ จากปลาการ์ตูน

จากการล่อเหยื่อหรือชักนำเหยื่อให้เข้ามาใกล้พอที่ดอกไม้ทะเลจะจับเป็นอาหารได้

ฐานที่ 18. ปะการังสมองร่องใหญ่(Symphyllia recta)

รูปทรงแบบก้อนและมีแนวร่อง มองดูคล้ายสมอง โครงสร้างหินปูนภายในช่องที่ปะการังอยู่แหลมคม

นักท่องเที่ยวต้องระมัดระวังไม่สัมผัสโดน เพราะอาจบาดเจ็บได้ง่ายๆ

ฐานที่ 19. ปะการังแผ่น(Podabacia crustacea)

ปะการังที่มีรูปทรงแบบแผ่นมักเติบโต และแก่งแย่งพื้นที่ได้ดีกว่าปะการังรูปทรงอื่น แต่มีความเปราะบางแตกหักได้ง่าย

นักท่องเที่ยวต้องระมัดระวังไม่สัมผัสโดนปะการัง

ฐานที่ 20. ปะการังกาแล็กซี่(Galaxea fascicularis)

การแก่งแย่งพื้นที่กันระหว่างปะการังแต่ละชนิด ซึ่งมีรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างกัน เช่นการเคลือบ หรือ การโตทับ

 

                                                                                 >>> รูปภาพเพิ่มเติม <<<


      

      

      

         

      

      

      

                                         

หมวด: